Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

นันยาง เผยโฉมนวัตกรรม Gen Alpha รองเท้า “Have Fun” ไม่ผูกเชือก

นันยาง เผยโฉมนวัตกรรม Gen Alpha รองเท้า “Have Fun” ไม่ผูกเชือก
1
เขียนโดย intrend online 2025-04-28

พร้อมเพิ่มทางเลือกคุ้มค่าด้วยสินค้าราคาประหยัด “Retake และ Retry” แบ่งเบาภาระผู้ปกครอง

นันยาง ประกาศกลยุทธ์รุกตลาดรับเปิดเทอมปี 2568 มุ่งเน้นนวัตกรรมสินค้าและความคุ้มค่า เพื่อตอบรับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคเศรษฐกิจชะลอตัว โดยยังคงครองความเป็นผู้นำตลาดรองเท้าผ้าใบนักเรียนอันดับหนึ่ง ด้วยส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 45% จากมูลค่าตลาดรองเท้านักเรียนรวมกว่า 5,000 ล้านบาท ตั้งเป้าเติบโตต่อเนื่องที่ 3-5% ในปีนี้

นันยางยังคงเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมเพื่อรองรับความต้องการของเด็กนักเรียนรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดรองเท้าเด็กกลุ่ม Gen Alpha หรือชั้นประถม นันยางได้ออกแบบรองเท้ารุ่น “Nanyang Have Fun” ที่มีคุณสมบัติเบา นุ่ม และสวมใส่สบายเหมาะกับสรีระของเด็กเล็กอย่างแท้จริง อีกทั้งนวัตกรรมสำคัญในช่วงโควิด-19 ด้วยการพัฒนา "เชือกยืดหยุ่น" ทำให้ไม่ต้องผูกเชือกอีกต่อไป ลดการสัมผัสเชื้อโรคจากรองเท้า 10 เท่า โดยล่าสุดต้อนรับเปิดเทอมปีการศึกษา 2568 นันยางได้เปิดตัว “เชือกยืดหยุ่น 2.0” ด้วยฟังก์ชันพิเศษ "ล็อก-ปลดล็อก" ได้ง่ายยิ่งขึ้น เพิ่มความคล่องตัว ตอบโจทย์ทุกกิจกรรมการเรียนและการเล่น เพื่อการพัฒนาการอย่างสมวัย

นอกจากนี้เพื่อแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง และตอบโจทย์สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน นันยางได้แนะนำสินค้าเก่าในรูปแบบใหม่ โดยนำรองเท้าที่ไม่ผ่านมาตรฐานด้านความสวยงามแต่ยังคงคุณภาพการใช้งาน 100% กลับมาจำหน่ายใหม่ในราคาพิเศษ ได้แก่ Nanyang Retake (มีตำหนิจากการผลิต) ราคา 269 บาท และ Nanyang Retry (มีรอยเปรอะเปื้อน) ราคา 169 บาท เพื่อลดของเสียจากกระบวนการผลิต และส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิด Circular Economy ในโครงการ Nanyang Reborn

 


"คาดการณ์ว่าโครงการ Nanyang Reborn จะสามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 140,000 kgCO₂e เสมือนการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ของต้นไม้ 7,000 ต้นในหนึ่งปี หรือการขับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันระยะทางรอบโลกได้ 20 รอบ ซึ่งนอกจากการสร้างทางเลือกที่คุ้มค่าให้ผู้บริโภค ยังเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ขยายวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ สนับสนุนการผลิตและบริโภคที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น และเป็นอีกก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนแนวคิด Circular Economy ของนันยางให้เป็นรูปธรรม" นายชัยพัชร์ ซอโสตถิกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท นันยางอุตสาหกรรม จำกัด กล่าวถึงบทบาทของนันยางในด้านการพัฒนาความยั่งยืน

"แม้สภาพเศรษฐกิจโดยรวมจะชะลอตัว แต่เรามองเห็นโอกาสในการสร้างการเติบโตผ่านความเข้าใจเชิงลึกในพฤติกรรมผู้บริโภค พัฒนาสินค้าที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ และสร้างความแตกต่างผ่านนวัตกรรมที่ไม่เหมือนใคร นี่คือหัวใจของกลยุทธ์นันยางในปีนี้ นอกจากนี้เราจะมีเซอร์ไพรส์สร้างความตื่นเต้นและรอยยิ้มให้กับผู้บริโภคเป็นระยะๆ อย่างแน่นอน" ดร.จักรพล จันทวิมล กรรมการผู้จัดการ บริษัท นันยางมาร์เก็ตติ้ง จำกัด กล่าวถึงแนวทางการขับเคลื่อนตลาดในช่วงเปิดเทอมปี 2568

ปัจจุบันตลาดรองเท้านักเรียนไทยมีผู้เล่นหลักประมาณ 10-15 ราย โดยมีผู้เล่นรายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 5 รายในช่วงปีที่ผ่านมา นันยางจึงเร่งขับเคลื่อนกลยุทธ์เชิงรุก ทั้งการพัฒนาสินค้าที่ตอบโจทย์ผู้บริโภครุ่นใหม่ การสื่อสารแบรนด์ผ่านทุกช่องทาง และการขยายเครือข่ายการจัดจำหน่ายอย่างครอบคลุม

ในส่วนของช่องทางการขาย นันยางพร้อมจำหน่ายสินค้าผ่านทั้งร้านค้าทั่วประเทศ ห้างสรรพสินค้า และช่องทางร้านค้าออนไลน์ทุกประเภท รองรับพฤติกรรมการช้อปปิ้งที่เปลี่ยนแปลงไป ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าได้สะดวก พร้อมรับสิทธิพิเศษและโปรโมชันตามแต่ละช่องทาง เพื่อเพิ่มประสบการณ์การซื้อที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ยุคดิจิทัลด้วยกลยุทธ์การพัฒนานวัตกรรม ควบคู่กับการสร้างสรรค์สินค้าใหม่และตอกย้ำคุณภาพในราคาที่เข้าถึงได้ นันยางพร้อมเดินหน้าสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในตลาดรองเท้านักเรียนไทย พร้อมเป็นแบรนด์ขวัญใจคนไทยทุกยุคทุกสมัย